หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 22


รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการให้ความเห็นเชิงวิชาการของแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ และปัญหาเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงกรณีไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือกระบวนการตรวจสอบซ้ำเพื่อเป็นหลักประกันและยืนยันความถูกต้องของผลการชันสูตรที่ชัดเจน

          2. กสม. เห็นว่า กระบวนการชันสูตรพลิกศพตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในกรณีเจ้าหน้าที่เห็นว่าการตายไม่ผิดธรรมชาติก็อาจทำให้ไม่เข้าสู่กระบวนการชันสูตรพลิกศพ และไม่มีการผ่าศพหรือแยกธาตุ จึงควรกำหนดให้ญาติผู้ตายสามารถร้องขอให้เจ้าหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพหรือผ่าศพได้ กฎหมายยังขาดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ซ้ำอย่างชัดเจน กฎหมายมิได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขอทราบผลการชันสูตรพลิกศพหรือผลการผ่าพิสูจน์ได้ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนที่มิอาจเปิดเผยได้ ไม่มีกำหนดเวลาเกี่ยวกับการคืนศพ จึงควรมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ชัดเจนอันจะทำให้เจ้าหน้าที่มีกรอบการปฏิบัติงาน และบุคคลทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจความจำเป็น บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติว่าแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพจะต้องมาจากหน่วยงานใด จึงทำให้ขาดหลักประกันความเป็นกลางและความอิสระ รวมทั้งขาดการบูรณาการจัดการองค์ความรู้ด้านนิติเวชศาสตร์และมาตรฐานการชันสูตรพลิกศพ โดยในบางพื้นที่อาจมีกรณีที่แพทย์ไม่อาจไปปฏิบัติหน้าที่ได้ นอกจากนี้ ภายหลังจากที่พนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพได้จัดทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นแล้ว ควรให้เป็นบทบาทขององค์กรตุลาการในการพิจารณาคำโต้แย้งคัดค้านรายงานผลการชันสูตรพลิกศพที่พนักงานผู้ชันสูตรพลิกศพจัดทำเสร็จสิ้น

          3. กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง กรณีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป 

          4. ที่ผ่านมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ กสม. ว่า เมื่อได้รับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ให้รายงานรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของ กสม. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปซึ่งรองนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวตามข้อ 4 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. กค. อว. มท. ยธ. สคก. ตช. ศย. อส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ แพทยสภา ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย และ กสม. เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้ 

 

ข้อเสนอแนะของ กสม.

 

สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม

1. ข้อเสนอแนะมาตรการระยะสั้น คณะรัฐมนตรีควรมอบหมาย ดังนี้

1.1 ให้ สธ. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ตช. และแพทยสภาร่วมกันพิจารณาแนวทางในการตรวจพิสูจน์ซ้ำเพื่อให้มีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

 

- แนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ซ้ำ

1. ให้ปฏิบัติโดยยึดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1511 ประกอบกับประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 10 การชันสูตรพลิกศพบทที่ 1 อำนาจและหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ข้อ 62 และประกาศราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย วาระ .. 2562 – 2564 ชุดที่ 17 ที่ 25/2563 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 25633

2. ให้มีการยกระดับประกาศราชวิทยาลัยฯ โดยให้แพทยสภาออกประกาศเป็นข้อบังคับแพทยสภาเพื่อการบังคับใช้ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยให้ราชวิทยาลัยฯ เสนอเรื่องต่อแพทยสภาต่อไป

1.2 ให้ สธ. ยธ. กค. และ ตช. ร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งศพเพื่อทำการผ่าพิสูจน์

 

- ให้ สธ. แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณของนิติเวชร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ และแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของแพทย์และค่าบริการสาธารณสุขด้านนิติเวชเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป

_______________________________________

1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 151 บัญญัติให้เมื่อมีการจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใด หรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้

2 ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 10 การชันสูตรพลิกศพ บทที่ 1 อำนาจและหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ข้อ 6 วรรคหนึ่งกำหนดให้ในการชันสูตรพลิกศพนั้น เมื่อมีความจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพ แล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ เศษหรือบางส่วนของศพไปยังแพทย์ หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐก็ได้

3 ประการราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย วาระ พ.ศ. 2562 – 2564 ชุดที่ 17 ที่ 25/2563 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2563 กำหนดแนวทางปฏิบัติในการผ่าศพซ้ำ กรณีการร้องขอให้ผ่าซ้ำ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 

1. หน่วยงานที่ถูกร้องขอจะรับทำได้ ต้องมีห้องปฏิบัติการการชันสูตรศพที่ผ่านการรับรองโดยราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย

2. หน่วยงานที่ถูกร้องขอต้องจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งเป็นแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยต้องประกอบด้วยกรรมการสองกลุ่ม ได้แก่ กรรมการจากหน่วยงานที่ถูกร้องขอ กับกรรมการภายนอก

3. คุณสมบัติของกรรมการมี ดังนี้ 

3.1 เป็นแพทย์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรจากแพทยสภาในสาขานิติวิทยาศาสตร์

3.2 หลังจากได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแล้ว ต้องปฏิบัติงานในสาขานิติเวชศาสตร์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี (และขณะที่เป็นกรรมการยังปฏิบัติงานในสาขานิติวิทยาศาสตร์อยู่)

3.3 ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ร้องขอให้ทำการผ่าศพซ้ำ และผู้เสียชีวิต

4. ให้คณะกรรมการประสานขอข้อมูลการผ่าศพครั้งก่อน เท่าที่ทำได้

5. ผู้ผ่าศพครั้งก่อน หรือตัวแทน สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์กระบวนการผ่าศพได้

6. การสรุปผลการผ่าศพซ้ำ หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ ให้กรรมการแต่ละคนแสดงความเห็นไว้ในรายงาน 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 กรกฎาคม 2567

 

 

7296

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!