หมวดหมู่: SME

TCG26


บสย.เสริมแกร่ง SMEs ดันยอดค้ำไตรมาส 1/2567 พุ่ง 14,432 ล้านบาท ย้ำชัดช่วยต่อเนื่อง ลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ 0.25% ช่วยกลุ่มเปราะบาง มีผล 1 พ.ค. 2567

บสย. ค้ำเติมทุน เสริมแกร่ง SMEs ดันยอดค้ำประกันสินเชื่อไตรมาส 1/2567 ม.ค.-มี.ค.  พุ่ง 14,432 ล้านบาท ช่วย SMEs 36,142 ราย  สร้างสินเชื่อในระบบ 15,378 ล้านบาท ย้ำชัดช่วยต่อเนื่อง ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ 0.25% ช่วย SMEs รายย่อยและกลุ่มเปราะบางตามนโยบายรัฐบาล มีผล 1 พ.ค. นี้

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เผยผลดำเนินงาน บสย.ไตรมาส 1/2567 (ม.ค.-มี.ค.) ภายใต้นโยบายเชิงรุกเพื่อเสริมสภาพคล่อง SMEs ต่อเนื่องอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวมกว่า 14,432 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs  36,142 ราย ได้สินเชื่อ โดยมีสัดส่วนค้ำประกันสินเชื่อในกรุงเทพ 42%  และต่างจังหวัด 58% โดยยอดค้ำประกันสูงสุด 3 ลำดับแรกมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17% ภาคใต้ 13% และภาคเหนือ 12%

ประเภทธุรกิจค้ำประกันสูงสุด 5 ลำดับแรกได้แก่ 1.ภาคบริการ 29% (4,287 ล้านบาท) 2. ภาคการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ 14% (2,085 บาท) 3.ภาคสินค้าอุปโภคบริโภค 11% (1,490 ล้านบาท)4.ภาคธุรกิจสินค้าและเครื่องดื่ม 9% (1,288 ล้านบาท) และ 5.ภาคเกษตรกรรม 8% (1,168 ล้านบาท)

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากสถาบันการเงิน ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะ ที่ 2 สัดส่วน 51% (7,201 ล้านบาท 1,296 ราย สิ้นสุดรับคำขอ 9 เม.ย.2567)  2. โครงการตามมาตรการรัฐ ‘บสย. SMEs เข้มแข็ง’(PGS 10) สัดส่วน 27% (3,833 ล้านบาท 33,857 ราย) 3. โครงการที่ บสย. ดำเนินการเอง  สัดส่วน 21%  (3,398 ล้านบาท 1,002 ราย) ได้แก่โครงการ  BI 7 (Bilateral) โครงการ Hybrid Guarantee 

TCG

ขณะที่มาตรการช่วยลูกหนี้แก้หนี้ยั่งยืน ได้รับความสนใจจากลูกหนี้ บสย. จำนวนมาก เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่อนน้อย เบาแรง หนี้ลด หมดเร็ว พร้อมอัตราดอกเบี้ย 0% สามารถช่วยลูกหนี้ได้รับการประนอมหนี้ ระหว่าง เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2567 รวมกว่า 14,000 ราย ขณะที่มาตรการ ‘ปลดหนี้’ไตรมาส1/2567 (ม.ค.-มี.ค.2567) มีลูกหนี้ร่วมโครงการ จำนวน 66 ราย มูลหนี้กว่า 14 ล้านบาท โดยโครงการปลดหนี้ เป็นโครงการนำร่องเฟสแรก ระยะเวลา 6 เดือน สิ้นสุด 30 มิ.ย. 2567

สำหรับ การดำเนินงานในไตรมาส 2 ยังคงเน้นนโยบายเชิงรุก ตั้งเป้าช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อต่อเนื่อง โดยมีโครงการที่ บสย. ดำเนินการเองรองรับความต้องการสินเชื่อ ได้แก่ โครงการ BI 7 (Bilateral) โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Hybrid Guarantee  โครงการค้ำประกันสินเชื่อค่าธรรมเนียมค้ำประกันตามระดับความเสี่ยง (Risk Based Pricing : RBP)

โดย บสย. อยู่ในระหว่างการนำเสนอโครงการต่างๆต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่

1.โครงการตามนโยบายรัฐ IGNITE Thailand วงเงินค้ำประกัน 5,000 ล้านบาท ร่วมกับธนาคารพันธมิตร ขณะนี้อยู่ในระหว่างเสนอต่อ ครม. 

2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS11 วงเงิน 50,000 ล้านบาท กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการขออนุมัติและเสนอ ครม. คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs กว่า 76,000 ราย

3.โครงการแก้ไขประกาศกระทรวงการคลัง การกำหนดให้นิติบุคคลผู้ให้บริการสินเชื่อเป็นสถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่คาดว่าจะสามารถช่วยผู้ประกอบการเข้าในระบบได้มากกว่า 400,000 ราย

4.โครงการร่วมลงทุนกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ (JV AMC) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบความร่วมมือ เพื่อดำเนินการ ภายใต้กรอบเวลาตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ บสย. พร้อมให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ 0.25% เพื่อช่วยเหลือ SMEs รายย่อย และกลุ่มเปราะบางต่อเนื่อง มีผล 1 พฤษภาคม นี้

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!